วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

การฝึกทักษะเบื้องต้น


การฝึกทักษะเบื้องต้น
การเสิร์ฟ
            การเสิร์ฟ ( Service ) หมายถึง การส่งส่งลูกเข้าสู่สนามการเล่นโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งแดนหลังด้านขวาทำการเสิร์ฟในเขตเสิร์ฟและเสิร์ฟโดยใช้มือข้างหนึ่ง เช่น ส้นมือ อุ้งมือ กำหมัด เป็นต้น ตีลูกบอลให้ข้ามตาข่ายเข้าไปยังแดนของผู้แข่งขัน การเสิร์ฟมีความสำคัญต่อการเล่นมาก เพราะคะแนนที่ได้จะได้จากการเป็นฝ่ายเสิร์ฟเท่านั้น หากเสิร์ฟเสียจะเสียสิทธิการเสิร์ฟและหมดโอการที่จะได้คะแนนในครั้งนั้น ดังนั้น ทักษะการเสิร์ฟจึงต้องสนใจศึกษาและฝึกหัดให้ชำนาญเพราะผู้เล่นทุกคนต้องหมุนเวียนไปเป็นผู้เสิร์ฟ
                ชนิดของการเสิร์ฟที่นิยมมี 3 ชนิด คือ
v การเสิร์ฟลูกมือล่าง
v การเสิร์ฟลูกมือบน
v การเสิร์ฟลูกระดับไหล่
1.           การเสิร์ฟลูกมือล่าง ( Underhand Serve ) ผู้เสิร์ฟยืนทรงตัวโดยวางเท้าที่ไม่ถนัด (โดยมากเป็นเท้าซ้าย ) ไว้ข้างหน้า น้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ทั้งสองเท้าหรืออาจหนักมาทางเท้าหลังเล็กน้อย ย่อเข่าพอสมควร  ( เด็กๆ อาจย่อเข่าให้มากเพื่อจะได้แรงส่งจากเท้า ) มือซ้ายกางนิ้วออกถือลูกบอลไว้ข้างหน้า ตามองที่ลูกบอลตลอดเวลา
การเตรียม มือขวาที่จะใช้ตีลูกบอลเงื้อไปข้างหน้าเกร็งมือให้แข็ง นิ้วชิดกัน จะแบบหรือกำมือก็ได้ แต่ในที่นี้เสนอแนะให้ใช้วิธีกำมือ เพื่อใช้ส้นมือตีกระแทกบังคับลูกบอลไป เพราะส่วนของส้นมือหนาและแข็งแรงกว่าส่วนอื่น ทำให้ตีลูกบอลได้ไกลและไม่เจ็บมือ
วิธีปฏิบัติ
1.             เหวี่ยงแขนแล้วหายมือที่จะตีลูกบอลให้เฉียดด้านข้างของลำตัวไปมาหลายๆครั้ง เพื่อให้เกิดความชำนาญ โดยเหวี่ยงแขนไปด้านหน้าให้โดนใต้ลูกบอลค่อนมาทางด้านหลังเล็กน้อย พร้อมกับย่อตัวโยกหาจังหวะ
2.             ในจังหวะที่โยนลูกบอลขึ้นเพื่อจะตีลูกให้เหวี่ยงแขนไปข้างหลัง เมื่อเริ่มเหวี่ยงมาข้างหน้าให้ย่อตัวตามจังหวะของแขนที่เหวี่ยงไป
3.             ลูกบอลไม่ควรโยนสูงเพราะควบคุมยาก ควรโยนระดับเอวของผู้ตี เมื่อลูกลอยนิ่งจะเป็นจังหวะเดียวกับที่แขนเหวี่ยงมาตีลูก
4.             ในจังหวะที่มือกระทบลูกต้องเกร็งให้มือแข็ง พยายามตีให้ถูกกึ่งกลางลุกค่อนมาข้างใต้เล็กน้อย ส่งแรงผ่านไปโดยเหวี่ยงแขนตามและบิดตัวตามไปด้วย
ถ้าต้องการบังคับลูกให้นิ่ง เมื่อมือตีกระทบลูกบอลควรพยายามให้ถูกเฉพาะส้นมือ และควรเกร็งมือไว้ไม่เหวี่ยงตามลูกบอลไป

2.           การเสิร์ฟลูกมือบน ( Over Hand Serve ) การเสิร์ฟลูกมือบนเป็นการเสิร์ฟที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจาก เป็นวิธีที่ไม่ยากนัก ลูกบอลที่เสิร์ฟมีความรุนแรงและรับยากจึงเป็นผลดีต่อฝ่ายเสิร์ฟเสมอ การฝึกเสิร์ฟมือบนควรเป็นวิธีฝึกเพื่อพัฒนาการผู้เล่น เมื่อผู้เล่นมีความชำนาญการเสิร์ฟมือล่างเป็นอย่างดีแล้ว
การเตรียม ยกลูกบอลขึ้นมาทางไหล่ขวา ( สำหรับผู้เล่นถนัดขวา )ระดับลูกบอลอยู่เหนือศีรษะเล็กน้อย มือขวาเกร็งนิ้วชิดกันทาบไว้หลังลูกบอล ตามองอยู่ที่ลูกบอลตลอดเวลาทรงตัวให้มั่นคงน้ำหนักตัวควรอยู่ด้านหลัง
วิธีปฏิบัติ
1.             ย่อตัวเข่างอเล็กน้อย ส่งลูกบอลขึ้นในตำแหน่งที่มือขวาจะตีลูกบอลได้สะดวก
2.             ขณะที่ถือลูกบอลอย่างมีสมาธิ มือขวาเงื้อมาข้างหลังมาขึ้น มือซ้าย (ที่โยนลูก ) ควรยกไว้เพื่อการทรงตัว
3.             จังหวะที่ลูกบอลลอยขึ้นเกือบสูงสุดจะเป็นจังหวะเดียวกับมือขวาเงื้อเต็มที่ พร้อมๆน้ำหนักตัวถ่ายมาอยู่เท้าหลังเกือบทั้งหมด
4.             เมื่อลูกบอลหยุดนิ่งแล้วเริ่มตกลง ให้ตีลูกบอลทางด้านหลังพยายามให้ส้นมือถูกกึ่งกลางของลูกบอล โดยใช้แรงส่งจากน้ำหนังตัว กำลังกล้ามเนื้อท้อง หัวไหล่ แรงเหวี่ยงของมือและแขนส่งลูกบอลไป
3.           การเสิร์ฟลูกระดับไหล่ ( Round House Serve )
การเตรียม ยืนหลังเส้นในเขตส่งลูก หันลำตัวด้วนข้างเข้าหาตาข่าย ( คนถนัดมือขวาให้หันลำตัวซีกซ้ายเข้าหาตาข่าย ) เท้าทั้งสองขนานกันและหันเท้าออกทางเส้นข้างของสนาม น้ำหนักตัวอยู่บนกึ่งกลางของเท้าทั้งสอง
วิธีปฏิบัติ
1.             มือซ้ายถือลูกบอล ( อาจจะใช้ทั้งสองมือก็ได้ ) โยนลูกบอลให้สูงขึ้นเหนือไหล่ขวาบิดลำตัวไปทางด้านขวาของลำตัวและน้ำหนักตัวค่อนไปทางด้านขวา
2.             เหวี่ยงแขนขวาขึ้นในจังหวะที่ลูกบอลตกลงมา แขนที่จะส่งลูกบอลต้องตวัดมือให้พอดีกับจังหวะของลูกบอลที่ตก
3.             ตวัดมือขวากลับมาโดยใช้สันมือ ( หรือกำหมัด ฝ่ามือข้อมือ )  ตีส่วนหลังของลูกบอล ตอนตีควรหักข้อมือด้วย
4.             เมื่อตีลูกบอลไปแล้ว บิลำตัวไปทางด้านซ้าย และเปลี่ยนน้ำหนักตัวให้อยู่บนเท้าซ้าย


การเล่นลูกบอลด้วยมือและแขน
                การเล่นลูกบอลด้วยมือและแขนมีความสำคัญมากต่อการเล่นวอลเลย์บอล เพราะผู้เล่นจะต้องใช้ทักษะนี้เล่นอยู่เสมอนับตั้งแต่การรับลูกเสิร์ฟ การรับลูกตบ การตอบโต้ และตั้งลูกบอล เป็นต้น ซึ่งวิธีการเล่นอาจใช้บริเวณแขนท่อนล่าง มือ นิ้วมือ หรือส้นมือโดยต้องพิจารณาการใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับเหตุการณ์นั้นๆ แต่ทักษะที่สำคัญเป็นที่นิยมฝึกหัดเพื่อประโยชน์ในการเล่นทั่วๆไป ได้แก่
                การเล่นลูกมือล่าง มีชื่อเรียกเต็มว่า “ การเล่นลูกสองมือล่าง ” (  Bump Pass ) โดยทั่วไปนิยมเรียก “ ลูกมือล่าง ” ( Under ) ในที่นี้จะใช้เรียก “ ลูกมือล่าง ”เท่านั้น
            การเล่นลูกมือล่างนี้ หมายถึง การใช้มือทั้งสองเล่นเล่นลูกบอล โดยการจับหรือประสานมือทั้งสองให้ชิดกัน กระดูกแขนที่ติดกับหัวแม่มือตั้งตั้งขึ้นเป็นสัน พยายามจัดให้ต้นแขนและนิ้วหัวแม่มือเรียงขนานกันไปแขนเหยียดตึงเป็นท่อนเดียวกัน นิ้วหัวแม่มือต้องเรียงชิดเสมอกัน ไม่ทับกัน นอกจากนี้อาจจับด้วยวิธีประสานนิ้วนอกจากนิ้วหัวแม่มือ  หรือวิธีวางหลังมือไว้ในอุ้งมืออีกข้างหนึ่ง ซึ่งเหมาะกับเด็กๆ เพราะทำให้การจับมือทั้งสองกระชับมั่นยิ่งขึ้น
วิธีปฏิบัติ ( การโต้ลูกไปข้างหน้า )
1.             เมื่อลูกบอลลอยมา ให้เคลื่อนที่เข้าไปใต้ลูกบอล ในลักษณะลากเท้า ( Slide ) ย่อตัวอยู่ใต้ระดับ
ลูกบอล
2.             สายตาจ้องดูการเคลื่อนที่ของลูกบอลตลอดเวลา
3.             ทรงตัวให้มั่นคง แขนทั้งสองประสานกันให้แน่นเหยียดตึงทำมุมประมาณ 45 องศากับลำตัว
4.             เมื่อลูกบอลลอยมาให้เคลื่อนที่เข้าไปหยุดในตำแหน่งที่ลูกบอลจะตกกระทบระหว่างข้อมือและกึ่งกลางท่อนล่าง
5.             ตีลูกบอลขึ้นด้วยแรงส่งของเท้าและลำตัว โดยพยายามรักษาตำแหน่งของแขนไว้ไม่ยกเหวี่ยงตามลูกบอลไป นอกจากส่งตามเพียงเลกน้อย
6.             รักษาตำแหน่งของร่างกายและทรงตัวให้ดี
7.             เตรียมพร้อมที่จะเล่นต่อไป






ข้อเสนอแนะ
1.              ต้องอยู่ในท่าเตรียมพร้อม แต่ไม่ควรจับมือไว้ก่อนเพราะอาจทำให้การเคลื่อนไหวไม่ดีเท่าที่ควร
2.             การจับมือทุกแบบ นิ้วหัวแม่มือต้องเรียงขนานกันไป
3.             ต้องเคลื่อนเท้าหรือโยกลำตัวเพื่อรับลูก ไม่ควรยื่นแขนไปรับลูกโดยไม่เคลื่อนที่ เพราะจะทำให้ผิดพลาดได้ง่าย
4.             การเล่นลูกมือล่างควรฝึกโต้ลูกบอลให้เคลื่อนที่ไปในลักษณะไม่หมุน ( Flat ) เพราะเป็นประโยชน์ทำให้ฝ่ายเราตั้งหรือตบได้ง่าย
5.             ไม่ควรเล่นมือเดียว นอกจากได้รับการฝึกเป็นพิเศษโดยล้มตัวเล่นลูกบอลเมื่อต้องใช้ทักษะการเล่นลูกมือเดียว
การเล่นลูกมือบน หมายถึง การเล่นลูกด้วยนิ้วมือโดยการใช้นิ้วตีลูกบอลไปยังจุดหมาย การปฏิบัติเช่นนี้อาจเรียกว่าการแตะลูก การชงลูก หรือเซตอัพ (Setup) ก็ได้ แต่ในที่นี้จะเรียก
           “ ลูกมือบน ”
                                การเล่นลูกมือบนเป็นการรับลูกบอลที่คู่ต่อสู้ส่งมาอย่างแรง ให้ตั้งชูขึ้นก่อนแล้วจึงหาหนทางส่งลูกโต้ตอบกลับไปหาคู่ต่อสู้ทั้งนี้เพราะลูกบอลที่มาอย่างแรงนั้น หากเราส่งข้ามตาข่ายเลยทันทีอาจทำให้ลูกออกนอกสนาม หรือไม่ก็อาจไปตกในทิศทางที่เราไม่ต้องการและอาจจะทำให้คู่ต่อสู้โต้ลูกกลับมาหาเราได้ง่าย ความสำคัญอีกประการหนึ่งของการเล่นลูกมือบน คือ เพื่อให้อีกคนตบลูกได้
                                โดยทั่วไปการเล่นลูกมือบน มักกระทำในขณะที่ลูกบอลอยู่เหนือใบหน้าเท่านั้น ดังนั้นในกรณีที่ลูกบอลอยู่ในระดับต่ำ ผู้เล่นจึงจำเป็นต้องย่อตัวให้มากเพื่อให้ลูกบอลอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยยึดหลักว่า ทิศทางลูกบอล มือ และหน้าผากอยู่ในแนวเดียวกัน
ท่าทางและตำแหน่งของร่างกาย
1.             กางนิ้วมือยกขึ้นเหนือศีรษะ มือทั้งสองห่างกัน 5-10 เซนติเมตร
2.             ข้อมือ แขน และข้อศอกเล็กน้อย ยกยื่นล้ำไปด้านหน้าในระดับสายตา ใบหน้าเงยขึ้นสายตาจับจ้องอยู่ที่ลูก
3.             นิ้วที่กางออกงอเล็กน้อย มือทั้งสองข้างจะมีลักษณะเป็นอุ้งมือ นิ้วหัวแม่มืออยู่ใกล้ใบหน้าที่สุด นิ้วก้อยอยู่ห่างที่สุด
4.             ย่อตัวและอยู่ในลักษณะการทรงตัว
วิธีปฏิบัติ การเล่นลูกมือบนในกรณีเมื่อลูกมาเหนือศีรษะ
1.             ผู้เล่นยกมือทั้งขึ้นเหนือศีรษะในตำแหน่งการเล่นลูกมือบน เคลื่อนที่เข้าลูกบอล เงยหน้ามองลูกบอลตลอดเวลา
2.             เคลื่อนที่เข้าไปใต้ลูกบอลทรงตัวให้มั่นคงย่อเข่า ชูมือทั้งสองข้างเข้าหาลูกบอล
3.             ให้จังหวะที่นิ้วมือสัมผัสลูกบอล ให้ใช้บริเวณนิ้วด้านในเกิบทั้งหมดสัมผัสลูกบอล โดยผ่อนแรงกระแทกของลุกบอลให้ลดลง ขณะเดียวกันให้เกร็งนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก ส่งแรงจากเท้า ลำตัว ข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือไปยังลูกบอล
4.             ภายหลังการส่งลูกบอลพ้นมือไปแล้ว ให้ส่งแรงตามทิศทางของลูกบอลไป
วิธีปฏิบัติ การเล่นลูกมือบนในกรณีที่ลูกบอลมาเลียดคือมาในลักษณะต่ำ แรง และเร็ว
1.             เมื่อลูกบอลกำลังมาให้เคลื่อนเท้าเข้าหาทิศทางของลูก โดยให้เท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้า น้ำหนักตัวอยู่บนปลายเท้าทั้งสอง โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
2.             มือทั้งสองประสานกัน โดยให้วางมือหนึ่งลงบนอีกมือหนึ่งหัวแม่มือทั้งสองประกบคู่เข้าหากัน แขนท่อนล่างชิดกัน
3.             เมื่อลูกบอลตกลงมาใกล้แขนทั้งสองเหยียดและรองใต้ระดับลูกบอล มือทั้งสองแตะลูกพร้อมกันสัมผัสลูกเพียงเบาๆชูลูกให้สูงขึ้น
4.             มือทั้งสองให้ส่งแรงตามทิศทางของลูกบอลและยืดตัวตาม ต้องเหยียดแขนตามลูกบอลและหักข้อมือเล็กน้อย
การส่งลูกผ่าน
            การส่งลูกผ่าน ( Passing the Ball ) คือการเล่นลูกบอลจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งในทีมเดียวกัน เพื่อให้คนนั้นได้เล่นลูกมือบน อันเป็นประโยชน์ต่อการตบลูก
                วิธีปฏิบัติ วิธีปฏิบัติคล้ายกับการเล่นลูกมือบน ผิดกันตรงที่การส่ง คือ การส่งลูกผ่านนั้นต้องให้มือทั้งสองแตะลูกในระดับอก หน้าไม่เงยมาก แตะลูกบอลให้ไปในทิศทางข้างหน้าประมาณ 45 องศา โดยแตะบริเวณส่วนหลังของลูก
การเอาลูกกลับคืนจากตาข่าย
                การเอาลูกกลับคืนจากตาข่าย ( Recovery ) เมื่อลูกบอลกระทบถูกตาข่ายให้คนที่อยู่ใกล้ตาข่ายและใกล้ลูกมากที่สุดพุ่งตัวและมือเข้าหาตามทิศทางของลูกบอล โดยกะให้มีอยู่ต่ำกว่าลูกบอล เข่างอ ( หากลูกบอลกระทบตาข่ายต่ำมากอาจจะต้องคุกเข่าด้วย ) ลักษณะของลำตัวขนานกับตาข่ายเมื่อลูกบอลหยุดออกจากตาข่าย ก็ใช้มือทั้งสองที่ติดกัน ( หรือมือเดียวก็ได้ ) งัดส่วนใต้ของลูกบอลขึ้น เพื่อให้เพื่อนในทีมของตนเล่นลูกต่อไป
การตบและการสกัดกั้น
            การตบ  ( Spike ) เป็นวิธีการรุกที่รุนแรง กระทำโดยผู้เล่นกระโดดขึ้นมาบริเวณใกล้ตาข่ายแล้วตี
ลูกบอลด้วยมือหรือแขนโดยมีจุดมุ่งหมายให้ลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม
                การสกัดกั้น ( Block ) เป็นวิธีการป้องกันไม่ให้ลูกบอลข้ามตาข่ายในแดนของตน โดยการยกมือขึ้นเหนือตาข่ายสกัดกั้นทิศทางที่ลูกบอลจะผ่านมา

การตบและการสกัดกั้น จึงจำเป็นต้องฝึกกระโดดให้สูงสามารถยกมือเหนือตาข่ายได้มากๆ เพื่อสะดวกในการตบหรือสกัดกั้น การกระโดดต้องกระทำใกล้ๆตาข่าย โดยไม่ให้ถูกตาข่าย จึงจำเป็นต้องฝึกกระโดดในแนวดิ่งให้ชำนาญ นอกจากนั้นภายหลังในการตบหรือสกัดกั้นแล้ว ต้องลงสู่พื้นในลักษณะทีมีการทรงตัวที่ดีและควรให้เท้าทั้งสองลงสู่พื้นพร้อมๆกัน
การตบลูกเป็นลูกที่ตื่นเต้นและหน้าดูที่สุดในกีฬาวอลเลย์บอล ลูกตบมักจะเป็นลูกที่สามารถทำคะแนนเด็ดขาดกว่าลูกอื่นๆ ผู้เล่นที่มีความสามารถในการกระโดดย่อมจะได้เปรียบ แต่อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการกระโดดอย่างเดียวไม่พอ ผู้เล่นต้องรู้จักจังหวะในการกระโดดและตบลูกอย่างแม่นยำ ความรวดเร็วและความไวของสายตาในการช่วยตบลูกด้วย
ความรู้เบื้องต้นก่อนการฝึกตบลูกบอล 3 ประการ คือ
1.             ลักษณะของการใช้ฝ่ามือในแบบต่างๆ เพื่อการตบลูก
2.             บริเวณที่ใช้ฝ่ามือสัมผัสลูกบอลเมื่อตบลูก
3.             การย่อตัวเพื่อการกระโดดตบลูกบอล จะต้องหยุดย่อตัวให้ห่างจากรัศมีลูกบอลจะตกลงพื้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร
องค์ประกอบเพื่อให้การตบได้ผลโดยสมบูรณ์ ได้แก่
1.             การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอล
2.             การกระโดดและการตบลก
3.             การทรงตัวภายหลังการตบ
1.           การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอล การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอลมีความสำคัญเป็นอันดับแรกในการฝึกตบ เพราะถ้าหากเคลื่อนเข้าไปชิดหรือห่างลูกบอลเกินไปก็ทำให้การตบไม่ได้ผลดี การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอลควรอยู่ห่างลูกบอลทางด้านหลังประมาณช่วงแขนของผู้เล่นเพราะเมื่อกระโดดขึ้นไปแรงเหวี่ยงจากการเคลื่อนที่จะส่งให้เข้าไปใกล้ลูกบอลอีก
2.           การกระโดดและการตบลูกบอล ภายหลังจากก้าวรวบเท้าและกระโดดลอยตัวขึ้นสูงสุดแล้ว
การทรงตัวภายหลังการตบ ภายหลังการตบเมื่อลงสู่พื้นควรลงให้พร้อมกันด้วยทั้งสองเท้า ย่อเข่าให้มาก กางแขนทั้งสองข้างออกเล็กน้อยเพื่อการทรงตัว เงยหน้ามองดูลูกบอลตลอดเวลา และเตรียมพร้อมที่จะทำการเล่นต่อไป
การสกัดกั้น
        การสกัดกั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ
1.             การสกัดกั้นเป็นรายคน
2.             การสกัดกั้นเป็นทีม

การสกัดกั้นเป็นรายคน
        วิธีปฏิบัติ เมื่อเห็นฝ่ายตรงข้ามเล่นลูกมือบน เตรียมที่จะให้อีกคนตบ  ฝ่ายป้องกันคนที่อยู่ใกล้คนตบลูกต้องเตรียมตัวกระโดดลอยตัวให้สูงที่สุดพร้อมกับแบมือและชูมือทั้งสองขึ้นเหนือตาข่ายตามทิศทางของลูกที่มา แขนอยู่ในลักษณะเกือบขนานกับตาข่าย และสูงจากตาข่ายประมาณ 6 นิ้ว
การสกัดกั้นเป็นทีม
      วิธีปฏิบัติ วิธีการสกัดกั้นเหมือนกับการสกัดกั้นเป็นรายบุคคล เพียงแต่เป็นการสกัดกั้นด้วยคนหลายๆคนพร้อมกันเท่านั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น