วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติวอลเลย์บอล


ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล
กำเนิดกีฬาวอลเลย์บอล

             กีฬาวอลเลย์บอลเกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.. 1895 โดย นาย วิลเลียม จี มอร์แกน ( Willam  G. Morgan )
ชาวสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษา แห่งสมาคม Y.M.C.A. (The Young Man’s Christian Association ) ตั้งอยู่ที่เมืองโฮล์โยค ( Holyoke ) มลรัฐแมสซาชูเซตส์  ( Massachusetts ) ซึ่งนายมอร์แกนให้ชื่อว่า “ มินโทเนตต์ “ ( Mintonette ) สาเหตุที่นายมอร์แกนคิดเกมนี้ขึ้นด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ
1.             เขาได้ตระหนักถึงความจำเป็นของกีฬาในร่มที่จะใช้เป็นกิจกรรมนันทนาการ  และการพักผ่อนของนักธุรกิจที่มีอายุมากแทนกีฬาบาสเกตบอลที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  แต่ไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีอายุมาก
2.             เพื่อเป็นกีฬาที่สามารถใช้เล่นในโรงยิมเนเซียมขนาดเล็กในฤดูหนาวได้
3.             เพื่อให้ผู้ใหญ่ได้มีโอกาสเล่นรวมกัน
  แนวความคิดนี้เขาได้ดัดแปลงจากวิธีการเล่นของกีฬาบาสเกตบอล เทนนิส และแฮนด์บอล เขาจึงทดลองด้วย
การใช้ตาข่ายเทนนิสมาขึงแบ่งผ่านกลางสนามบาสเกตบอลในโรงฝึกพลศึกษาออกเป็น 2 แดน ให้ความสูงของตาข่ายพ้นพื้น 6 ฟุต 6 นิ้ว ส่วนลูกบอลนั้นเขาได้ใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น ซึ่งมีน้ำหนักน้อยและสามารถตีหรือเคาะลูกด้วยมือเปล่าข้ามตาข่ายไปโดยปราศจากอันตราย ทักษะการเล่นเบื้องต้นก็ใช้การเล่นของเทนนิสและแฮนด์บอลรวมกัน การเล่นเริ่มโดยผู้เล่นคนหนึ่งส่งลูกด้วยมือจากแดนหนึ่งไปยังอีกแดนหนึ่ง แล้วผู้เล่นที่อยู่แดนตรงกันข้ามโต้ตอบลูกด้วยมือข้ามตาข่ายกลับมา การเล่นจะดำเนินต่อไปจนกว่าลูกจะตกถึงพื้นจึงมีการได้แต้มหรือเปลี่ยนส่งผู้ส่งลูกมีสิทธิส่งลูกได้ 3 ครั้ง ในเกมหนึ่งประกอบด้วย 9 Innings ถ้าฝ่ายใดแพ้ 3  Innings ก็ให้ปรับเป็นฝ่ายแพ้ กติกาของมอร์แกนที่ตั้งขึ้นยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้บ้าง เช่น ห้ามผู้เล่นถือลูกไว้ในมือขณะที่รับลูก การห้ามผู้เล่นถูกตาข่ายในขณะที่กำลังเล่น
                ในคราวประชุมสัมมนาผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A ที่สหรัฐอเมริกา ณ มหาวิทยาลัย-สปริงฟิลด์ ( Spring-field Collage ) เมื่อต้นปี ค.. 1896 มอร์แกนได้แสดงถึงวิธีการเล่นของเขาซึ่งเรียกว่า  “ มินโทเนตต์ “ ( Mintonette ) ต่อที่ประชุมใหญ่ซึ่งก็ได้รับความสนใจและยอมรับจากผู้เข้าประชุมและศาสตราจารย์อัลเฟรด ที เฮลสตีด ( Alfred T. Helstead ) ได้แนะนำให้มอร์แกนเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็นวอลเลย์บอล (             Volleyball ) โดยใช้ลักษณะของการเล่นเกมเป็นหลักในการตั้งชื่อ เนื่องจากวัตถุประสงค์ขั้นพื้นฐานของการเล่นเกมนี้คือ การโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมา โดยไม่ตกถึงพื้น จากการประชุมครั้งนั้นก็ได้ตั้งชื่อวอลเลย์บอลอย่างเป็นทางการ และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อร่างระเบียบวิธีการเล่นให้เป็นแบบรัดกุมยิ่งขึ้นอีก พร้อมกับได้ร่างกติกาแข็งขันเพื่อถือเป็นบรรทัดฐานของการแข่งขันต่อไป
                ในปี ค.. 1897 ได้มีกติกาวอลเลย์บอลขึ้นเป็นทางการและได้จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นคู่มือเจ้าหน้าที่ ( Official Handbook ) มีชื่อรียกว่า “ Handbook of  the Athletic League of the Y.M.C.A. of North America ” จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของกีฬาวอลเลย์บอลอย่างแท้จริง กีฬาวอลเลย์บอลได้เริ่มแพร่หลายและเล่นกันตามสมาคม Y.M.C.A. ก่อนแล้วจึงขยายไปยังสมาคมอื่นๆประชาชนชาวอเมริกันนิยมเล่นวอลเลย์บอลเพิ่มขึ้น และสามารถจัดการเล่นทั้งในร่มและกลางแจ้งได้ กองทัพอเมริกันได้อนุญาตให้เล่นเกมนี้ระหว่างพักการฝึกอาวุธทั้งในและนอกประเทศด้วย
                กติกาของการเล่นวอลเลย์บอลได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จนกระทั่ง ค.. 1919 ทางสมาคม Y.M.C.A. ได้ร่วมกับสมาคมส่งเสริมการศึกษาแห่งชาติอเมริกัน หรือ NCAA ( the Nationai Collegiate Athietic Association ) จัดพิมพ์หนังสือกติกาวอลเลย์บอลเล่มแรกของโลกมีชื่อว่า sponding Blue Cover Volleyball Biue Book
                ในปี ค.. 1928 ได้มีการจัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลแห่งชาติอเมริกัน หรือ USVBA ( The United state volleyball Association ) ได้มีการประชุมและเปลี่ยนแปลงกติกาวอลเลย์บอล วัตถุประสงค์เพื่อตั้งกฎเกณฑ์กติกาการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับชาติขึ้น มีประธานสมาคมคนแรกคือ ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิสเชอร์( Dr. George J. Fischer ) ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทในการช่วยเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างมากจนได้สมญานามว่า “บิดาแห่งวอลเลย์บอล” โดยฟิสเชอร์ได้จัดให้มีผู้นำกีฬาวอลเลย์บอลไปจัดเป็นโครงการนันทนาการตามค่ายพักแรมตามบ้านและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ จนกีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีคนนิยมเล่นกันอย่างกว้างขวาง
                กีฬาวอลเลย์บอลได้มีการแข่งขันในกีฬาระดับโลกครั้งแรกคือ The World Championship meets 1st ในปี 1949 ที่เมือง Prague ประเทศ Czechoslovakia
                ในปี 1958 เอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 3 ณ กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ได้มีการจัดให้มีการแข่งขันวอลเลย์บอลขึ้น
                ปี 1959 ในกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 1 ณ เมือง Terino ประเทศอิตาลี
                ปี 1959 ในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ
                ในปี ค.. 1964 วอลเลย์บอลได้รับการบรรจุเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ณกรุงโตเกียว ปะเทศญี่ปุ่น
                และในปี ค.. 1965 ได้มีการแข่งขันวอลเลย์บอล World Cup ครั้งที่ 1 ณ กรุง Warsaw ประเทศโปแลนด์
                สมาพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างชาติตั้งอยู่ที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส เรียกว่า Paris Headquartered International Volleyball Federation หรือ IVBF จัดตั้งในปี ค.. 1947 และหลังจากนั้นก็ได้มีการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลกันอย่างกว้างขวาง และนับเป็นกีฬานันทนาการที่นิยมเป็นอันดับ 3 ของโลก

ประวัติ กีฬาวอลเลย์บอลของไทย


กีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย
                วอลเลย์บอลได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เพียงแต่ทราบกันว่าในระยะแรกๆเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวจีนและชาวญวนมาก จนกระทั่งมีการแข่งขันระหว่างคณะ ชุมชน สโมสร และสมาคมขึ้น บางครั้งติดต่อแข่งขันกันไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการแข่งขันชิงถ้วยทองคำทางภาคใต้
                ปี พ.. 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล และท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล แก่บรรดาครูพลศึกษามั่วประเทศในโอกาสที่กระทรวงศึกษาได้เปิดอบรมขึ้น
                ในปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรกพร้อมทั้งในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางได้กำหนดวิชาบังคับ ให้นักเรียนหญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอลสมัยนั้นมี น.. หลวงศุภชลาศัย ร.. ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา
                จนกระทั่งปี พ.. 2500 ได้มีการจัดตั้ง “ สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย “ ( Amature Volleyball Association  of  Thailand ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเพื่อเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน มีหน่วยราชการอื่นๆ จัดกรแข่งขันประจำปี เช่น กรมพลศึกษา กรมการคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัย เทศบาลนครกรุงเทพฯ สภากีฬาทหาร ตลอดจนการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิงเป็นประจำทุกปี

ความมุ่งหมายของกีฬาวอลเลย์บอล
v เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล
v เพื่อให้มีความสามารถในการเล่นทักษะเบื้องต้นต่างๆของกีฬาวอลเลย์บอลอย่างถูกต้อง
v เพื่อให้มีความสามารถในการเล่นทีมได้อย่างถูกต้องและฉลาด
v เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกติกาเกี่ยวกับการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
v เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาร่างกาย จิตใจ สังคม และอารมณ์
v เพื่อส่งเสริมให้มีนิสัยรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
v ส่งเสริมให้เป็นคนมีน้ำใจนักกีฬา
v เพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลินในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
v เพื่อปลูกฝังนิสัยให้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

อุปกรณ์ วอลเลย์บอล


สนามและอุปกรณ์
สนาม
                ขนาดของสนาม
                ขนาดของงสนามแข่งขัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 18 × 9 เมตร ล้อมรอบด้วยบริเวณรอบสนาม กว้างอย่างน้อย 3 เมตร และไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ ความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปไม่น้อยกว่า 7 เมตร
                การแข่งขันระหว่างชาติ เขตรอบสนามใต้องไม่น้อยกว่า 5 เมตร วัดจากเส้นข้าง ข้างละ 8 เมตร วัดจากเส้นหลัง และความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปไม่น้อยกว่า 12.5 เมตร

พื้นสนาม
พื้นสนามเรียบและเป็นพื้นราบ พื้นสนามต้องไม่ทำด้วยสิ่งที่จะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้เล่นและไม่อนุญาตให้ใช้พื้นสนามที่ขรุขระ เปียก หรือลื่น เช่น ซีเมนต์ ทราย หญ้า ฯลฯ
สนามแข่งขันในร่มต้องมีพื้นที่เป็นสีเขียว เป็นสีอ่อนและเป็นสีสว่าง สนามกลางแจ้งอนุญาตให้มีความลาดเอียงได้ 1 มิลลิเมตร ต่อ 1 เมตร และห้ามใช้สนามที่ทำด้วยโลหะหรือของแข็งอื่น
ในการแข่งขันระหว่างชาติอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะพื้นสนามเป็นพื้นไม้หรือสังเคราะห์อื่นๆ สำหรับพื้นลักษณะอื่นๆ ต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ( FIVB ) เส้นสนามต้องมีสีที่แตกต่างจากพื้นสนามการแข่งขัน และบริเวณเขตรอบสนาม

เส้นสนาม
เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร มีสีอ่อนและแตกต่างจากพื้นสนาม เส้นข้างสองเส้นและเส้นหลังสองเส้นเป็นเส้นกำหนดเขตสนามแข่งขันนี้รวมอยู่ในสนามแข่งขันขนาด 18 × 9 เมตรด้วย
เส้นแบ่งแดน แบ่งสนามแข่งขันออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน เส้นนี้อยู่ได้ตาข่ายโยลากจากเส้นข้างด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่ง
เขตรุก ลากเส้นขนานกับจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดนไปบรรจบกับเส้นข้างสองเส้น ( ความกว้างของเส้นรวมอยู่ในเขตงรุกด้วย ) เส้นเขตรุกและส้นรุกของทั้งสองฝ่ายนี้สมมติว่ามีความยาวออกไปโดยไม่มีกำหนด
เขตเสิร์ฟจากเส้นยาว 15 เซนติเมตร สองเส้นจากปลายสุดของสนาม โดยเขียนให้ห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร ซึ่งเขียนจากปลายเส้นข้างด้านขวาหนึ่งเส้น และเข้าไปทางซ้าย ระยะห่างกัน 3 เมตร อีกหนึ่งเส้น

ตาข่าย
ตาข่าย ( Net ) ทำด้วยวัสดุสีดำตาของตาข่ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 10 เซนติเมตรตาข่ายมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 เมตร ที่ขอบบนของตาข่ายมีแถบสีขาวกว้าง 5 เซนติเมตร เย็บติดตลอดความยาวของตาข่าย แลมีเชือกร้อยผ่านชายล่างสุดของตาข่ายผูกกับเสาทั้งสองเพื่อทำให้ตาข่ายตึง
ความสูงของตาข่ายสำหรับชายสูง 2.43 เมตร และสำหรับหญิงสูง 2.24 เมตร
แถบข้างใช้แถบสีขาวกว้าง  5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร ติดที่ปลายตาข่ายแต่ละด้านตั้งได้ฉากกับเส้นข้าง และอยู่ในแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน แถบข้างนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย
เสาอากาศทำด้วยหลอดใยแก้วหรือวัสดุอื่นที่คล้ายกันมีความยาว 1.8 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 
10  มิลลิเมตร ทาสีขาวและสีแดงสลับกันเป็นช่วงๆ ช่วงละ 10 เซนติเมตร เสาอากาศมี 2 ต้นแต่ละต้นผูกติดที่ขอบนอกสุดของแถบข้างแต่ละด้าน โดยให้ยื่นเหนือตาข่ายขึ้นไป 80 เซนติเมตร เสสาอากาศถือเป็นส่วนหนึ่งของตาข่ายและเขตจำกัดของด้านข้าง

เสาขึงตาข่าย
เสาขึงตาข่ายทั้งสองเส้นควรจะมีลักษณะกลมและเรียบสามารถปรับระดับความสูงได้ 2.55 เมตร เสาขึงตาข่ายต้องยึดติดอยู่กับพื้นสนาม และอยู่ห่างจากเส้นข้างระหว่าง 50-100 เซนติเมตร โดยต้องไม่มีสายยึดเสา

ลูกบอล ( Ball )
ลูกบอลต้องมีลักษณะทรงกลมทำด้วยหนังฟอกที่ยืดหยุ่นได้ มียางในหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน สีต้องเป็นไปตามแบบและมีสีอ่อน เส้นรอบวงระหว่าง 65-67 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 390-280 กรัม แรงอัดระหว่าง  0.30-0.325 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
                

หลักการฝึกเบื้องต้น


หลักการฝึกวอลเลย์บอล
                การฝึกวอลเลย์บอลสำหรับผู้หัดเล่นใหม่ๆ นั้นจะต้องเริ่มจากง่ายไปยาก เพื่อผู้ฝึกเล่นใหม่จะได้มีความสามารถในการเล่นเกมได้เป็นอย่างดี การฝึกขั้นพื้นฐานจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับนักกีฬาที่ปรารถนาจะเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถในการเล่นเกมและยังต้องมีความอดทนอุตสาหะเพียรพยายามเป็นพื้นฐานพร้อมที่จะได้รับการฝึกเป็นชั้นๆ ไปตามลำดับด้วยความตั้งใจอย่างแท้จริง การฝึกจะก่อให้เกิดประโยชน์โดยสมบูรณ์ ซึ่งมีลำดับการฝึกอยู่ 3 ขั้นตอน ได้แก่
v การเตรียมตัวก่อนเล่น
v การฝึกทักษะเบื้องต้น
v การฝึกเป็นทีม
การเตรียมตัวก่อนเล่น
                การเตรียมตัวก่อนเล่น ( Warm up ) ผู้เล่นจำเป็นต้องอบอุ่นร่างกายก่อน เพื่อให้เกิดความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจก่อนที่จะเล่นลูกบอล โดยให้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายรู้ตัวก่อนมีการยืดหยุ่นพอประมาณ
                การเคลื่อนไหวของเท้า ( Footwork ) เป็นรากฐานที่ช่วยรักษาความมั่นคงในการทรงตัว มีความสำคัญในการเล่นวอลเลย์บอลมาก
               
วิธีปฏิบัติ  ไปทางซ้าย
1.             ยืนให้ท้าทั้งสองข้างขนานกัน ย่อเข่าเละก้มลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
2.             ก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้ายของลำตัวด้านข้าง 1 ก้าว ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายในจังหวะเดียวกัน ก้าวเท้าซ้ายออกไปอีก
3.             ทำซ้ำข้อ 2 ไปเรื่อยๆ
วิธีปฏิบัติ  ไปทางซ้าย
                วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับไปทางซ้าย แต่ให้ก้าวเท้าไปทางขวาแทน
วิธีปฏิบัติ   ไปข้างหน้า
1.             ยืนให้เท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้า เท้าทั้งสองห่างกันพอสบาย ย่อเข่าและก้มลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
2.             ก้าวเท้าหน้าไปข้างหน้า 1 ก้าว  ก้าวเท้าหลังชิดเท้าหน้า ( โดยให้ปลายเท้าหลังแตะส้นเท้าหน้า ) ในจังหวะเดียวกัน ก้าวเท้าหน้าไปข้างหน้าอีก 1 ก้าว
วิธีปฏิบัติ   ไปข้างหลัง
                วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับไปข้างหน้า แต่ให้ถอยเท้าไปข้างหลังแทน(โดยให้สันเท้าหน้าแตะปลายเท้าหลัง)
ข้อแนะนำ          การก้าวเท่าหนึ่งชิดอีกเท้าหนึ่งต้องทำอย่างรวดเร็วในลักษณะสืบเท้า
                การบริหารร่างกายก่อนการฝึกซ้อมกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อให้ได้ทั้งความเร็วและความอดทน สามารถทำได้หลายวิธี
การบริหารร่างกายก่อนเลิก
1.             วิ่งธรรมดา
2.             วิ่งเหยาะๆ
3.             ขยับให้เส้นสายหย่อน
4.             บริหารให้กล้ามเนื้อคลายความตึงเครียด
5.             บริหารโดยการหายใจเข้าออกให้สัมพันธ์กับท่าที่บริหาร
การฝึกเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล   เพื่อฝึกประสาทตาและร่างกายส่วนที่จะใช้สัมผัสกับลูกบอล  ให้เกิดความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างสมบูรณ์  เมื่อลูกบอลอยู่ในลักษณะอย่างไรก็สามารถที่จะเคลื่อนตัวไปยังจุดที่ลูกบอลจะตกลงได้   และสามารถที่จะใช้มือบังคับให้ไปในทิศทางที่ต้องการได้โดยไม่ผิดกติกา

วิธีปฏิบัติ  ท่านั่ง
1.             ให้ลูกบอลอยู่ระหว่างขาแล้วยกขาขึ้นเป็นรูปตัว “วี” หมุนขาไปรอบๆ
2.             ให้ลูกบอลอยู่ระหว่างขาแล้วก้มให้ศีรษะแตะพื้น พ้นคอกับคาง  กลิ้งม้วนตัวไปข้างหน้า
3.             นอนราบกับพื้นให้ลูกบอลอยู่ในหว่านขาใช้ขาหนีบ บอลยกมาแตะศีรษะ
4.             นอนราบมือจับลูกบอล  กลิ้งไปข้าง ๆ
5.             นั่งส่งลูกบอลด้วยเท้า
6.             นั่งขวางลูกบอล  ส่งลูกบอลระดับอก  ขว้างลูกบอลข้ามตัว
7.             นั่งเลี้ยงลูกบอลลอดขาตัวเอง

วิธีปฏิบัติ  ท่ายืน
1.             ส่งลูกบอลหมุนรอบขาให้เป็นเลข 8
2.             ส่งลูกบอลหมุนรอบตัวให้เป็นวงกลม
3.             ขว้างลูกบอลไปข้างหลังโดยผ่านช่องขาข้างล่าง
4.             กระโดดโดยมีลูกบอลอยู่ระหว่างขา
5.             จับลูกใต้ขาสลับกัน
6.             จับลูกใต้ขาขณะก้าวเดิน
7.             ส่งลูกบอลลอดขาไปข้างหลังให้ลูกบอลข้ามศีรษะตัวเอง

วิธีปฏิบัติการเปลี่ยนตำแหน่งและท่าทางต่าง ๆ ของผู้ฝึก
1.             กลิ้งลูกบอลไปทาง ซ้าย, ขวา , หน้า , หลัง และ ระหว่างขา
2.             เคลื่อนที่เป็นจังหวะ  โดยกระโดดหรือสืบเท้าไปข้างซ้าย ข้างขวา  แล้วกลิ้งม้วนตัว
3.             ใช้มือเดียวโยนลูกบอลขึ้นแล้วจับลูกบอล
4.             ใช้มือตีลูกบอลทางด้านข้าง (สันมือ) คล้ายตีเทนนิสทั้งมือซ้ายและมือขวา
5.             วิ่งใช้มือเลี้ยงลูก (เคาะลูกบอล)
6.             ใช้หัวโหม่งลูกบอลแล้วพุ่งตัวลง (หมอบลง)
การฝึกความคล่องตัวในการเล่นวอลเลย์บอล  ความคล่องตัวของนักกีฬานั้นจะเป็นเครื่องช่วยให้นักกีฬามีความเหมาะสมที่จะเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถได้อย่างดี  และสามารถช่วยให้หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่ได้รับจากการเล่นได้  การฝึกความคล่องตัวสำหรับกีฬาวอลเลย์บอลนั้นจะต้องมีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ไปยังจุดต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็ว  สามารถบังคับร่างกายให้เล่นลูกบอลในจังหวะที่ถูกต้องได้  ไม่ว่าจะเป็นการส่งลูก  รับลูก หรือตบลูก การฝึกร่างกายสำหรับวอลเลย์บอลที่สำคัญมีอยู่  3 ประการ คือ
การส่งลูกบอล
1.             ส่งลูกด้วยมือล่าง
2.             ส่งลูกด้วยมือบน  หรือการส่งลูกผ่าน
3.             การเสิร์ฟ
การรับลูกบอล
1.             รับลูกบอลจากการรุกของคู่ต่อสู้ ( ตบหรือหยอด )
2.             การรับลูกเสิร์ฟ
3.             การสกัดกั้นลูกบอล
การตบลูก
1.             การตบลูกเป็นมุมแหลมลงในแดนคู่ต่อสู้
2.             ตบลูกเพื่อส่งลูกข้ามตาข่าย



การฝึกทักษะเบื้องต้น


การฝึกทักษะเบื้องต้น
การเสิร์ฟ
            การเสิร์ฟ ( Service ) หมายถึง การส่งส่งลูกเข้าสู่สนามการเล่นโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งแดนหลังด้านขวาทำการเสิร์ฟในเขตเสิร์ฟและเสิร์ฟโดยใช้มือข้างหนึ่ง เช่น ส้นมือ อุ้งมือ กำหมัด เป็นต้น ตีลูกบอลให้ข้ามตาข่ายเข้าไปยังแดนของผู้แข่งขัน การเสิร์ฟมีความสำคัญต่อการเล่นมาก เพราะคะแนนที่ได้จะได้จากการเป็นฝ่ายเสิร์ฟเท่านั้น หากเสิร์ฟเสียจะเสียสิทธิการเสิร์ฟและหมดโอการที่จะได้คะแนนในครั้งนั้น ดังนั้น ทักษะการเสิร์ฟจึงต้องสนใจศึกษาและฝึกหัดให้ชำนาญเพราะผู้เล่นทุกคนต้องหมุนเวียนไปเป็นผู้เสิร์ฟ
                ชนิดของการเสิร์ฟที่นิยมมี 3 ชนิด คือ
v การเสิร์ฟลูกมือล่าง
v การเสิร์ฟลูกมือบน
v การเสิร์ฟลูกระดับไหล่
1.           การเสิร์ฟลูกมือล่าง ( Underhand Serve ) ผู้เสิร์ฟยืนทรงตัวโดยวางเท้าที่ไม่ถนัด (โดยมากเป็นเท้าซ้าย ) ไว้ข้างหน้า น้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ทั้งสองเท้าหรืออาจหนักมาทางเท้าหลังเล็กน้อย ย่อเข่าพอสมควร  ( เด็กๆ อาจย่อเข่าให้มากเพื่อจะได้แรงส่งจากเท้า ) มือซ้ายกางนิ้วออกถือลูกบอลไว้ข้างหน้า ตามองที่ลูกบอลตลอดเวลา
การเตรียม มือขวาที่จะใช้ตีลูกบอลเงื้อไปข้างหน้าเกร็งมือให้แข็ง นิ้วชิดกัน จะแบบหรือกำมือก็ได้ แต่ในที่นี้เสนอแนะให้ใช้วิธีกำมือ เพื่อใช้ส้นมือตีกระแทกบังคับลูกบอลไป เพราะส่วนของส้นมือหนาและแข็งแรงกว่าส่วนอื่น ทำให้ตีลูกบอลได้ไกลและไม่เจ็บมือ
วิธีปฏิบัติ
1.             เหวี่ยงแขนแล้วหายมือที่จะตีลูกบอลให้เฉียดด้านข้างของลำตัวไปมาหลายๆครั้ง เพื่อให้เกิดความชำนาญ โดยเหวี่ยงแขนไปด้านหน้าให้โดนใต้ลูกบอลค่อนมาทางด้านหลังเล็กน้อย พร้อมกับย่อตัวโยกหาจังหวะ
2.             ในจังหวะที่โยนลูกบอลขึ้นเพื่อจะตีลูกให้เหวี่ยงแขนไปข้างหลัง เมื่อเริ่มเหวี่ยงมาข้างหน้าให้ย่อตัวตามจังหวะของแขนที่เหวี่ยงไป
3.             ลูกบอลไม่ควรโยนสูงเพราะควบคุมยาก ควรโยนระดับเอวของผู้ตี เมื่อลูกลอยนิ่งจะเป็นจังหวะเดียวกับที่แขนเหวี่ยงมาตีลูก
4.             ในจังหวะที่มือกระทบลูกต้องเกร็งให้มือแข็ง พยายามตีให้ถูกกึ่งกลางลุกค่อนมาข้างใต้เล็กน้อย ส่งแรงผ่านไปโดยเหวี่ยงแขนตามและบิดตัวตามไปด้วย
ถ้าต้องการบังคับลูกให้นิ่ง เมื่อมือตีกระทบลูกบอลควรพยายามให้ถูกเฉพาะส้นมือ และควรเกร็งมือไว้ไม่เหวี่ยงตามลูกบอลไป

2.           การเสิร์ฟลูกมือบน ( Over Hand Serve ) การเสิร์ฟลูกมือบนเป็นการเสิร์ฟที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจาก เป็นวิธีที่ไม่ยากนัก ลูกบอลที่เสิร์ฟมีความรุนแรงและรับยากจึงเป็นผลดีต่อฝ่ายเสิร์ฟเสมอ การฝึกเสิร์ฟมือบนควรเป็นวิธีฝึกเพื่อพัฒนาการผู้เล่น เมื่อผู้เล่นมีความชำนาญการเสิร์ฟมือล่างเป็นอย่างดีแล้ว
การเตรียม ยกลูกบอลขึ้นมาทางไหล่ขวา ( สำหรับผู้เล่นถนัดขวา )ระดับลูกบอลอยู่เหนือศีรษะเล็กน้อย มือขวาเกร็งนิ้วชิดกันทาบไว้หลังลูกบอล ตามองอยู่ที่ลูกบอลตลอดเวลาทรงตัวให้มั่นคงน้ำหนักตัวควรอยู่ด้านหลัง
วิธีปฏิบัติ
1.             ย่อตัวเข่างอเล็กน้อย ส่งลูกบอลขึ้นในตำแหน่งที่มือขวาจะตีลูกบอลได้สะดวก
2.             ขณะที่ถือลูกบอลอย่างมีสมาธิ มือขวาเงื้อมาข้างหลังมาขึ้น มือซ้าย (ที่โยนลูก ) ควรยกไว้เพื่อการทรงตัว
3.             จังหวะที่ลูกบอลลอยขึ้นเกือบสูงสุดจะเป็นจังหวะเดียวกับมือขวาเงื้อเต็มที่ พร้อมๆน้ำหนักตัวถ่ายมาอยู่เท้าหลังเกือบทั้งหมด
4.             เมื่อลูกบอลหยุดนิ่งแล้วเริ่มตกลง ให้ตีลูกบอลทางด้านหลังพยายามให้ส้นมือถูกกึ่งกลางของลูกบอล โดยใช้แรงส่งจากน้ำหนังตัว กำลังกล้ามเนื้อท้อง หัวไหล่ แรงเหวี่ยงของมือและแขนส่งลูกบอลไป
3.           การเสิร์ฟลูกระดับไหล่ ( Round House Serve )
การเตรียม ยืนหลังเส้นในเขตส่งลูก หันลำตัวด้วนข้างเข้าหาตาข่าย ( คนถนัดมือขวาให้หันลำตัวซีกซ้ายเข้าหาตาข่าย ) เท้าทั้งสองขนานกันและหันเท้าออกทางเส้นข้างของสนาม น้ำหนักตัวอยู่บนกึ่งกลางของเท้าทั้งสอง
วิธีปฏิบัติ
1.             มือซ้ายถือลูกบอล ( อาจจะใช้ทั้งสองมือก็ได้ ) โยนลูกบอลให้สูงขึ้นเหนือไหล่ขวาบิดลำตัวไปทางด้านขวาของลำตัวและน้ำหนักตัวค่อนไปทางด้านขวา
2.             เหวี่ยงแขนขวาขึ้นในจังหวะที่ลูกบอลตกลงมา แขนที่จะส่งลูกบอลต้องตวัดมือให้พอดีกับจังหวะของลูกบอลที่ตก
3.             ตวัดมือขวากลับมาโดยใช้สันมือ ( หรือกำหมัด ฝ่ามือข้อมือ )  ตีส่วนหลังของลูกบอล ตอนตีควรหักข้อมือด้วย
4.             เมื่อตีลูกบอลไปแล้ว บิลำตัวไปทางด้านซ้าย และเปลี่ยนน้ำหนักตัวให้อยู่บนเท้าซ้าย


การเล่นลูกบอลด้วยมือและแขน
                การเล่นลูกบอลด้วยมือและแขนมีความสำคัญมากต่อการเล่นวอลเลย์บอล เพราะผู้เล่นจะต้องใช้ทักษะนี้เล่นอยู่เสมอนับตั้งแต่การรับลูกเสิร์ฟ การรับลูกตบ การตอบโต้ และตั้งลูกบอล เป็นต้น ซึ่งวิธีการเล่นอาจใช้บริเวณแขนท่อนล่าง มือ นิ้วมือ หรือส้นมือโดยต้องพิจารณาการใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับเหตุการณ์นั้นๆ แต่ทักษะที่สำคัญเป็นที่นิยมฝึกหัดเพื่อประโยชน์ในการเล่นทั่วๆไป ได้แก่
                การเล่นลูกมือล่าง มีชื่อเรียกเต็มว่า “ การเล่นลูกสองมือล่าง ” (  Bump Pass ) โดยทั่วไปนิยมเรียก “ ลูกมือล่าง ” ( Under ) ในที่นี้จะใช้เรียก “ ลูกมือล่าง ”เท่านั้น
            การเล่นลูกมือล่างนี้ หมายถึง การใช้มือทั้งสองเล่นเล่นลูกบอล โดยการจับหรือประสานมือทั้งสองให้ชิดกัน กระดูกแขนที่ติดกับหัวแม่มือตั้งตั้งขึ้นเป็นสัน พยายามจัดให้ต้นแขนและนิ้วหัวแม่มือเรียงขนานกันไปแขนเหยียดตึงเป็นท่อนเดียวกัน นิ้วหัวแม่มือต้องเรียงชิดเสมอกัน ไม่ทับกัน นอกจากนี้อาจจับด้วยวิธีประสานนิ้วนอกจากนิ้วหัวแม่มือ  หรือวิธีวางหลังมือไว้ในอุ้งมืออีกข้างหนึ่ง ซึ่งเหมาะกับเด็กๆ เพราะทำให้การจับมือทั้งสองกระชับมั่นยิ่งขึ้น
วิธีปฏิบัติ ( การโต้ลูกไปข้างหน้า )
1.             เมื่อลูกบอลลอยมา ให้เคลื่อนที่เข้าไปใต้ลูกบอล ในลักษณะลากเท้า ( Slide ) ย่อตัวอยู่ใต้ระดับ
ลูกบอล
2.             สายตาจ้องดูการเคลื่อนที่ของลูกบอลตลอดเวลา
3.             ทรงตัวให้มั่นคง แขนทั้งสองประสานกันให้แน่นเหยียดตึงทำมุมประมาณ 45 องศากับลำตัว
4.             เมื่อลูกบอลลอยมาให้เคลื่อนที่เข้าไปหยุดในตำแหน่งที่ลูกบอลจะตกกระทบระหว่างข้อมือและกึ่งกลางท่อนล่าง
5.             ตีลูกบอลขึ้นด้วยแรงส่งของเท้าและลำตัว โดยพยายามรักษาตำแหน่งของแขนไว้ไม่ยกเหวี่ยงตามลูกบอลไป นอกจากส่งตามเพียงเลกน้อย
6.             รักษาตำแหน่งของร่างกายและทรงตัวให้ดี
7.             เตรียมพร้อมที่จะเล่นต่อไป






ข้อเสนอแนะ
1.              ต้องอยู่ในท่าเตรียมพร้อม แต่ไม่ควรจับมือไว้ก่อนเพราะอาจทำให้การเคลื่อนไหวไม่ดีเท่าที่ควร
2.             การจับมือทุกแบบ นิ้วหัวแม่มือต้องเรียงขนานกันไป
3.             ต้องเคลื่อนเท้าหรือโยกลำตัวเพื่อรับลูก ไม่ควรยื่นแขนไปรับลูกโดยไม่เคลื่อนที่ เพราะจะทำให้ผิดพลาดได้ง่าย
4.             การเล่นลูกมือล่างควรฝึกโต้ลูกบอลให้เคลื่อนที่ไปในลักษณะไม่หมุน ( Flat ) เพราะเป็นประโยชน์ทำให้ฝ่ายเราตั้งหรือตบได้ง่าย
5.             ไม่ควรเล่นมือเดียว นอกจากได้รับการฝึกเป็นพิเศษโดยล้มตัวเล่นลูกบอลเมื่อต้องใช้ทักษะการเล่นลูกมือเดียว
การเล่นลูกมือบน หมายถึง การเล่นลูกด้วยนิ้วมือโดยการใช้นิ้วตีลูกบอลไปยังจุดหมาย การปฏิบัติเช่นนี้อาจเรียกว่าการแตะลูก การชงลูก หรือเซตอัพ (Setup) ก็ได้ แต่ในที่นี้จะเรียก
           “ ลูกมือบน ”
                                การเล่นลูกมือบนเป็นการรับลูกบอลที่คู่ต่อสู้ส่งมาอย่างแรง ให้ตั้งชูขึ้นก่อนแล้วจึงหาหนทางส่งลูกโต้ตอบกลับไปหาคู่ต่อสู้ทั้งนี้เพราะลูกบอลที่มาอย่างแรงนั้น หากเราส่งข้ามตาข่ายเลยทันทีอาจทำให้ลูกออกนอกสนาม หรือไม่ก็อาจไปตกในทิศทางที่เราไม่ต้องการและอาจจะทำให้คู่ต่อสู้โต้ลูกกลับมาหาเราได้ง่าย ความสำคัญอีกประการหนึ่งของการเล่นลูกมือบน คือ เพื่อให้อีกคนตบลูกได้
                                โดยทั่วไปการเล่นลูกมือบน มักกระทำในขณะที่ลูกบอลอยู่เหนือใบหน้าเท่านั้น ดังนั้นในกรณีที่ลูกบอลอยู่ในระดับต่ำ ผู้เล่นจึงจำเป็นต้องย่อตัวให้มากเพื่อให้ลูกบอลอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยยึดหลักว่า ทิศทางลูกบอล มือ และหน้าผากอยู่ในแนวเดียวกัน
ท่าทางและตำแหน่งของร่างกาย
1.             กางนิ้วมือยกขึ้นเหนือศีรษะ มือทั้งสองห่างกัน 5-10 เซนติเมตร
2.             ข้อมือ แขน และข้อศอกเล็กน้อย ยกยื่นล้ำไปด้านหน้าในระดับสายตา ใบหน้าเงยขึ้นสายตาจับจ้องอยู่ที่ลูก
3.             นิ้วที่กางออกงอเล็กน้อย มือทั้งสองข้างจะมีลักษณะเป็นอุ้งมือ นิ้วหัวแม่มืออยู่ใกล้ใบหน้าที่สุด นิ้วก้อยอยู่ห่างที่สุด
4.             ย่อตัวและอยู่ในลักษณะการทรงตัว
วิธีปฏิบัติ การเล่นลูกมือบนในกรณีเมื่อลูกมาเหนือศีรษะ
1.             ผู้เล่นยกมือทั้งขึ้นเหนือศีรษะในตำแหน่งการเล่นลูกมือบน เคลื่อนที่เข้าลูกบอล เงยหน้ามองลูกบอลตลอดเวลา
2.             เคลื่อนที่เข้าไปใต้ลูกบอลทรงตัวให้มั่นคงย่อเข่า ชูมือทั้งสองข้างเข้าหาลูกบอล
3.             ให้จังหวะที่นิ้วมือสัมผัสลูกบอล ให้ใช้บริเวณนิ้วด้านในเกิบทั้งหมดสัมผัสลูกบอล โดยผ่อนแรงกระแทกของลุกบอลให้ลดลง ขณะเดียวกันให้เกร็งนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก ส่งแรงจากเท้า ลำตัว ข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือไปยังลูกบอล
4.             ภายหลังการส่งลูกบอลพ้นมือไปแล้ว ให้ส่งแรงตามทิศทางของลูกบอลไป
วิธีปฏิบัติ การเล่นลูกมือบนในกรณีที่ลูกบอลมาเลียดคือมาในลักษณะต่ำ แรง และเร็ว
1.             เมื่อลูกบอลกำลังมาให้เคลื่อนเท้าเข้าหาทิศทางของลูก โดยให้เท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้า น้ำหนักตัวอยู่บนปลายเท้าทั้งสอง โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
2.             มือทั้งสองประสานกัน โดยให้วางมือหนึ่งลงบนอีกมือหนึ่งหัวแม่มือทั้งสองประกบคู่เข้าหากัน แขนท่อนล่างชิดกัน
3.             เมื่อลูกบอลตกลงมาใกล้แขนทั้งสองเหยียดและรองใต้ระดับลูกบอล มือทั้งสองแตะลูกพร้อมกันสัมผัสลูกเพียงเบาๆชูลูกให้สูงขึ้น
4.             มือทั้งสองให้ส่งแรงตามทิศทางของลูกบอลและยืดตัวตาม ต้องเหยียดแขนตามลูกบอลและหักข้อมือเล็กน้อย
การส่งลูกผ่าน
            การส่งลูกผ่าน ( Passing the Ball ) คือการเล่นลูกบอลจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งในทีมเดียวกัน เพื่อให้คนนั้นได้เล่นลูกมือบน อันเป็นประโยชน์ต่อการตบลูก
                วิธีปฏิบัติ วิธีปฏิบัติคล้ายกับการเล่นลูกมือบน ผิดกันตรงที่การส่ง คือ การส่งลูกผ่านนั้นต้องให้มือทั้งสองแตะลูกในระดับอก หน้าไม่เงยมาก แตะลูกบอลให้ไปในทิศทางข้างหน้าประมาณ 45 องศา โดยแตะบริเวณส่วนหลังของลูก
การเอาลูกกลับคืนจากตาข่าย
                การเอาลูกกลับคืนจากตาข่าย ( Recovery ) เมื่อลูกบอลกระทบถูกตาข่ายให้คนที่อยู่ใกล้ตาข่ายและใกล้ลูกมากที่สุดพุ่งตัวและมือเข้าหาตามทิศทางของลูกบอล โดยกะให้มีอยู่ต่ำกว่าลูกบอล เข่างอ ( หากลูกบอลกระทบตาข่ายต่ำมากอาจจะต้องคุกเข่าด้วย ) ลักษณะของลำตัวขนานกับตาข่ายเมื่อลูกบอลหยุดออกจากตาข่าย ก็ใช้มือทั้งสองที่ติดกัน ( หรือมือเดียวก็ได้ ) งัดส่วนใต้ของลูกบอลขึ้น เพื่อให้เพื่อนในทีมของตนเล่นลูกต่อไป
การตบและการสกัดกั้น
            การตบ  ( Spike ) เป็นวิธีการรุกที่รุนแรง กระทำโดยผู้เล่นกระโดดขึ้นมาบริเวณใกล้ตาข่ายแล้วตี
ลูกบอลด้วยมือหรือแขนโดยมีจุดมุ่งหมายให้ลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม
                การสกัดกั้น ( Block ) เป็นวิธีการป้องกันไม่ให้ลูกบอลข้ามตาข่ายในแดนของตน โดยการยกมือขึ้นเหนือตาข่ายสกัดกั้นทิศทางที่ลูกบอลจะผ่านมา

การตบและการสกัดกั้น จึงจำเป็นต้องฝึกกระโดดให้สูงสามารถยกมือเหนือตาข่ายได้มากๆ เพื่อสะดวกในการตบหรือสกัดกั้น การกระโดดต้องกระทำใกล้ๆตาข่าย โดยไม่ให้ถูกตาข่าย จึงจำเป็นต้องฝึกกระโดดในแนวดิ่งให้ชำนาญ นอกจากนั้นภายหลังในการตบหรือสกัดกั้นแล้ว ต้องลงสู่พื้นในลักษณะทีมีการทรงตัวที่ดีและควรให้เท้าทั้งสองลงสู่พื้นพร้อมๆกัน
การตบลูกเป็นลูกที่ตื่นเต้นและหน้าดูที่สุดในกีฬาวอลเลย์บอล ลูกตบมักจะเป็นลูกที่สามารถทำคะแนนเด็ดขาดกว่าลูกอื่นๆ ผู้เล่นที่มีความสามารถในการกระโดดย่อมจะได้เปรียบ แต่อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการกระโดดอย่างเดียวไม่พอ ผู้เล่นต้องรู้จักจังหวะในการกระโดดและตบลูกอย่างแม่นยำ ความรวดเร็วและความไวของสายตาในการช่วยตบลูกด้วย
ความรู้เบื้องต้นก่อนการฝึกตบลูกบอล 3 ประการ คือ
1.             ลักษณะของการใช้ฝ่ามือในแบบต่างๆ เพื่อการตบลูก
2.             บริเวณที่ใช้ฝ่ามือสัมผัสลูกบอลเมื่อตบลูก
3.             การย่อตัวเพื่อการกระโดดตบลูกบอล จะต้องหยุดย่อตัวให้ห่างจากรัศมีลูกบอลจะตกลงพื้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร
องค์ประกอบเพื่อให้การตบได้ผลโดยสมบูรณ์ ได้แก่
1.             การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอล
2.             การกระโดดและการตบลก
3.             การทรงตัวภายหลังการตบ
1.           การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอล การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอลมีความสำคัญเป็นอันดับแรกในการฝึกตบ เพราะถ้าหากเคลื่อนเข้าไปชิดหรือห่างลูกบอลเกินไปก็ทำให้การตบไม่ได้ผลดี การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอลควรอยู่ห่างลูกบอลทางด้านหลังประมาณช่วงแขนของผู้เล่นเพราะเมื่อกระโดดขึ้นไปแรงเหวี่ยงจากการเคลื่อนที่จะส่งให้เข้าไปใกล้ลูกบอลอีก
2.           การกระโดดและการตบลูกบอล ภายหลังจากก้าวรวบเท้าและกระโดดลอยตัวขึ้นสูงสุดแล้ว
การทรงตัวภายหลังการตบ ภายหลังการตบเมื่อลงสู่พื้นควรลงให้พร้อมกันด้วยทั้งสองเท้า ย่อเข่าให้มาก กางแขนทั้งสองข้างออกเล็กน้อยเพื่อการทรงตัว เงยหน้ามองดูลูกบอลตลอดเวลา และเตรียมพร้อมที่จะทำการเล่นต่อไป
การสกัดกั้น
        การสกัดกั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ
1.             การสกัดกั้นเป็นรายคน
2.             การสกัดกั้นเป็นทีม

การสกัดกั้นเป็นรายคน
        วิธีปฏิบัติ เมื่อเห็นฝ่ายตรงข้ามเล่นลูกมือบน เตรียมที่จะให้อีกคนตบ  ฝ่ายป้องกันคนที่อยู่ใกล้คนตบลูกต้องเตรียมตัวกระโดดลอยตัวให้สูงที่สุดพร้อมกับแบมือและชูมือทั้งสองขึ้นเหนือตาข่ายตามทิศทางของลูกที่มา แขนอยู่ในลักษณะเกือบขนานกับตาข่าย และสูงจากตาข่ายประมาณ 6 นิ้ว
การสกัดกั้นเป็นทีม
      วิธีปฏิบัติ วิธีการสกัดกั้นเหมือนกับการสกัดกั้นเป็นรายบุคคล เพียงแต่เป็นการสกัดกั้นด้วยคนหลายๆคนพร้อมกันเท่านั้น